กลยุทธ์ (Strategy) และ เป้าประสงค์ (Target)

           การพัฒนาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ดำเนินการตามกลยุทธ์หลักของคณะครุศาสตร์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ดังนี้

           ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ                          

                   เป้าหมาย 1.1 : บัณฑิตครูของสาขาวิชาคณิตศาสตร์มีอัตลักษณ์และสมรรถนะเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

                        เป้าหมาย 1.2 : บัณฑิตครูของสาขาวิชาคณิตศาสตร์เป็นแบบอย่างครูคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากสังคม

                   เป้าหมาย 1.3 : ผลิตบัณฑิตครูคณิตศาสตร์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                                    กลยุทธ์ 1 พัฒนาคุณภาพหลักสูตร เนื้อหาสาระรายวิชาและกระบวนการผลิต ให้มีสมรรถนะเป็นเลิศ เป็นที่ยอมรับด้วย School-Integrated Learning และสอดคล้องกับความต้องการของประเทศโดยบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครู (SIL)

                        กลยุทธ์ 2 พัฒนาสมรรถนะอาจารย์คณิตศาสตร์ให้มีความเป็นมืออาชีพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยเน้นการถ่ายทอดความรู้ การนิเทศและมีประสบการณ์การสอนในโรงเรียน

                        กลยุทธ์ 3 บ่มเพาะนักศึกษาคณิตศาสตร์ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ จิตวิญญาณความเป็นครูและคุณลักษณะที่พึงประสงค์                                

              ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

               เป้าหมาย 2.1 :  สร้างครูคณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพสู่ความเป็นมาตรฐานวิชาชีพ

                   เป้าหมาย 2.2 :  อาจารย์และบุคลากรสาขาวิชาคณิตศาสตร์มีความเป็นมืออาชีพ มีสมรรถนะเป็นที่ยอมรับของท้องถิ่น

               เป้าหมาย 2.3 ยกระดับคุณภาพบัณฑิตครูคณิตศาสตร์ให้เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต พร้อมรับบริบทการเปลี่ยนแปลง       

                   กลยุทธ์ 4  พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์ และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ

                   กลยุทธ์ 5  พัฒนาห้องปฏิบัติการ/สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

                   กลยุทธ์ 6  พัฒนาศักยภาพผู้สอนและบุคลากรสายสนับสนุนให้เป็นมืออาชีพ

                   กลยุทธ์ 7  พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกับการปฏิบัติงาน (SIL) เสริมสร้างทักษะและจิตสำนึกในการพัฒนาท้องถิ่น

          กลยุทธ์ 8  พัฒนาคุณภาพการผลิตบัณฑิตได้ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทั้งด้านสมรรถนะวิชาชีพ ทักษะบัณฑิตศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสังคม

           ยุทธศาสตร์ที่ 3  พัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์

               เป้าหมาย 3.1 :  การบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

                   กลยุทธ์ 9  บูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัย ศิลปะและวัฒนธรรม และการบริการวิชาการของนักศึกษาและอาจารย์กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์

                   กลยุทธ์ 10 สร้างความร่วมมือส่งเสริมการเรียนรู้ของโรงเรียนเครือข่ายร่วมมือพัฒนาวิชาชัพครูเพื่อสร้างความเข็มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ                                

           ยุทธศาสตร์ที่ 4  พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี

                   เป้าหมาย 4.1 :  สาขาวิชาคณิตศาสตร์มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

                   กลยุทธ์ 11  ส่งเสริมบุคลากรเป็นคนดี คนเก่ง ให้พัฒนาและแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถและศักยภาพเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างเต็มที่

                   กลยุทธ์ 12  พัฒนาคุณภาพระบบและกลไกเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรที่ส่งผลต่อการเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ